สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 สิงหาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,648 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,666 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,167 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,048 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,617 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 858 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,724 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 842 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,703 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 21 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,075 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,987 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 88 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,362 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,169 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 193 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8084 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
เกษตรฯ-พาณิชย์ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนิน “ยุทธศาสตร์ข้าวไทย” สู่เป้าหมาย
นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (นบข.) ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 เมื่อวันที่
4 พฤศจิกายน 2563 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์เสนอ ภายใต้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” โดยมีพันธกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการตลาดต่างประเทศ 2. ด้านตลาดภายในประเทศ 3. ด้านการผลิต และ
4. ด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว เพื่อเชื่อมโยงความต้องการของตลาดกับภาคการผลิตให้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันและสอดรับกันอย่างเป็นระบบนั้น

สำหรับการติดตามความก้าวหน้าและการหารือ มีทั้งหมด 3 ประเด็น คือ
1. การดำเนินการพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยการจัดประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการผลิต ที่มีเป้าหมายต้องได้พันธุ์ข้าวใหม่ 12 พันธุ์ ภายใน 5 ปี และได้มีการจัดโครงการประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ประกาศผลการประกวด และได้ข้าวพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งดำเนินการขอรับรองพันธุ์พืช และขึ้นทะเบียนพันธุ์ข้าวให้เรียบร้อยก่อนเข้าสู่กระบวนการอื่นๆ ตามขั้นตอนต่อไป
2. การจัดประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 ซึ่งได้ปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 โดยขอความร่วมมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามขั้นตอนการประกวด
ในส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การตรวจสอบประวัติพันธุกรรม การกำหนดรหัสตัวอย่างพันธุ์ข้าวที่ผ่านการตรวจสอบ
การกระจายตัวอย่างพันธุ์ข้าวไปยังแปลงนาทดลองเพื่อลงเพาะกล้าข้าว เป็นต้น
3. การเพิ่มจำนวนหน่วยตรวจสอบเอกลักษณ์พันธุกรรม (DNA) ข้าวหอมมะลิไทย เพื่อเปิดให้บริการตรวจสอบ DNA ข้าวหอมมะลิไทยในเชิงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ขอให้กรมการข้าวพิจารณาเพิ่มหน่วยตรวจสอบ DNA
ในพื้นที่ส่วนกลางด้วย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งตัวอย่างของผู้ประกอบการ ซึ่งกรมการข้าวอยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอแนะดังกล่าว และจะเร่งดำเนินการ รวมถึงแจ้งความคืบหน้าให้ทราบในโอกาสต่อไป
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ธ.ก.ส.ชี้เทรนด์ราคาข้าวหอมมะลิพุ่ง สวนทางข้าวเปลือกเจ้า-ข้าวเหนียว
ธ.ก.ส. เผยราคาสินค้าเกษตรเดือนสิงหาคม 2565 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นหลายรายการจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการ เทศกาลวันแม่แห่งชาติ หนุนธุรกิจท่องเที่ยว-ร้านอาหารกลับมาคึกคัก ปัจจัยบวกต่อราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ส่วนข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียวแนวโน้มราคาลดลง
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนสิงหาคม 2565 โดย
ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 13,885-13,991 บาทต่อตัน สูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 0.90-1.67 เพราะสต็อกข้าวหอมมะลิของผู้ประกอบการข้าวบรรจุถุงภายในประเทศลดลง “อย่างไรก็ตาม ได้รับแรงกดดันจากความต้องการข้าวหอมมะลิของสหรัฐอเมริกาที่ลดลง ทำให้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิเพิ่มขึ้นไม่มากนัก”
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 8,843-8,919 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนเดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 1.63-2.46 เนื่องจากอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรัง ครั้งที่ 2 คาดว่า ปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังจะมากกว่า
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูก ประกอบกับการแข่งขันด้านราคา
ของผู้ส่งออกข้าวในตลาดโลกรุนแรงขึ้น จึงกดดันราคาข้าวขาวในตลาดโลก
ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 8,834-9,079 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 0.98-3.65 เนื่องจากเวียดนามมีนโยบายการส่งออกข้าวเหนียวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้การแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับลดลง เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลง ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดเพิ่มขึ้น เพราะกําลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop) ขณะที่ผู้ค้าข้าวในประเทศชะลอการซื้อข้าวเปลือกในช่วงนี้ เพื่อรอให้ถึงช่วงที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุด
ซึ่งราคาข้าวอ่อนตัวลง โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 395-413 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 415-420 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วงการค้าระบุว่า ในช่วงนี้ราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับลดลง เนื่องจากมีผลผลิตข้าวฤดูใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น และคาดว่าในช่วงระยะสั้นๆ นี้ ราคาข้าวจะยังไม่กลับมาอยู่ที่ระดับเดิม เพราะราคาข้าวของประเทศคู่แข่งทั้งไทย และอินเดีย ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาข้าวของเวียดนาม
จากข้อมูลเบื้องต้น ในเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City มีการขนถ่ายสินค้าข้าวขึ้นเรือจำนวนประมาณ 269,775 ตัน โดยมีปลายทางที่ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศในแถบแอฟริกา โดยในช่วงระหว่าง วันที่ 1-21 กรกฎาคม 2565 มีเรือเข้ามาจอดรอขนถ่ายสินค้าข้าวจำนวน 34 ลำ เพื่อรับมอบข้าวจำนวนประมาณ 198,700 ตัน โดยจอดรอที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City จำนวน 24 ลํา และที่ท่าเรือ My Thoi port จํานวน 10 ลํา
สํานักข่าว Reuters รายงานว่า ในเดือนกรกฎาคม 2565 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 670,000 ตัน มูลค่าประมาณ 331 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กรกฎาคม 2565) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.16 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 และร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา: สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) เปิดเผยว่า กัมพูชาส่งออกข้าวขาวไปยังจีนรวม 169,766 ตัน ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 และทำรายได้ทั้งหมด 89 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 3.22 พันล้านบาท)
จีนยังคงเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ตามมาด้วยสหภาพยุโรป โดยจีนครองสัดส่วนร้อยละ 48.3 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชาในช่วง 7 เดือนแรก
ทรง สราญ ประธานสหพันธ์ฯ ระบุว่า จีนเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่สำหรับกัมพูชา และกัมพูชาหวังส่งออกข้าวไปยังจีนมากขึ้น โดยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรืออาร์เซ็ป (RCEP) จะช่วยอำนวยความสะดวกการค้าสินค้าระหว่างกัมพูชาและจีน รวมถึงประเทศที่เข้าร่วมอื่นๆ ยิ่งขึ้น
สราญ ระบุว่า ความตกลงการค้าระดับภูมิภาคขนาดใหญ่นี้ช่วยให้สินค้าของกัมพูชาสามารถเข้าถึงตลาด
ที่กว้างขวางกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากขึ้นให้เข้ามาลงทุนในหลายภาคส่วนรวมถึงอุตสาหกรรมข้าว เพื่อส่งออกสินค้าสำเร็จรูปไปยังประเทศสมาชิกความตกลงฯ ด้วยสิทธิพิเศษทางภาษี
ทั้งนี้ สหพันธ์ฯ ระบุว่า กัมพูชาส่งออกข้าวขาวรวม 350,902 ตัน ไปยัง 56 ประเทศ และภูมิภาคทั่วโลกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบปีต่อปี และทำรายได้รวมอยู่ที่ 218 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 7.9 พันล้านบาท)
ที่มา: xinhuathai
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในระดับทรงตัว ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศ
ที่ลดลง ในขณะที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญที่ยังคงน้อยกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 362-368 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผู้ส่งออกรายหนึ่งจากเมือง Kakinada ในรัฐอานธรประเทศทางตอนใต้ของอินเดีย ระบุว่า การหว่านเมล็ดข้าวในปีนี้เป็นไปอย่างล่าช้าในรัฐสำคัญทางภาคตะวันออกของประเทศ ซึ่งแม้ว่าจะคาดการณ์ว่าการหว่านจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ผลผลิตที่จะได้ก็อาจมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติโดยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของอินเดียเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรได้ลงมือปลูกข้าวแล้วประมาณ 106.25 ล้านไร่ ในฤดูกาลนี้ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 19 จาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ท่ามกลางปริมาณน้ำฝนที่ยังต่ำกว่าปกติในบางพื้นที่
ขณะที่วงการค้า ระบุว่า ในช่วงนี้ผู้ค้าข้าวบังคลาเทศได้เริ่มนําเข้าแล้ว แต่ปริมาณยังไม่มากนัก เนื่องจาก
อัตราแลกเปลี่ยนของเงินทากาบังคลาเทศเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ซึ่งไม่เอื้ออํานวยต่อการนําเข้าข้าวในช่วงนี้โดยบังกลาเทศได้เริ่มนําเข้าข้าวจากอินเดีย หลังจากที่รัฐบาลได้อนุญาตให้ผู้ค้าเอกชนนําเข้าข้าวได้ประมาณ
1 ล้านตัน และลดภาษีนําเข้าข้าวลง หลังจากเกิดภาวะน้ำท่วมครั้งรุนแรงจนทำลายพืชผลทางการเกษตรไปเป็นจำนวนมาก
กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (the India Meteorological Department) รายงานว่า ในเดือนกรกฎาคม 2565 ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในอินเดียเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณน้ำฝนรวมสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 16.9
ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2548 ทั้งนี้ เป็นมาผลจากสภาพอากาศที่เกิดจากปรากฏการณ์ลานีญ่าเหนือมหาสมุทร แปซิฟิก ซึ่งเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุดในช่วงฤดูมรสุม และคาดว่าฝนจะตกในระดับปกติในเดือนสิงหาคมและกันยายนนี้ ขณะที่การเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรกําลังคืบหน้าไปอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณร้อยละ 13.3
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.49 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,096.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,936.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.36 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 160.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 600.00 เซนต์ (8,565.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 602.00 เซนต์ (8,740.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 175.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนสิงหาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.11 ล้านตัน (ร้อยละ 3.20 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.73 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.91 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.43
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.20 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.17 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.40 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.40
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,980 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 280 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,260 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.79
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,060 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 501 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,400 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.531 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.276 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.549 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.279 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 1.13 และร้อยละ 1.13 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.55 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 6.36 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.99
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.70 บาท ลดลงจาก กก.ละ 35.67 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม สูงขึ้นจากเดือนมิถุนายนร้อยละ 8.30 ไปอยู่ที่ 1.79 ล้านตัน การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 อยู่ที่ 1.22 ล้านตัน และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 อยู่ที่ 80,000 ตัน คาดว่าการส่งออกของมาเลเซียเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกของอินโดนีเซียล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,066.02 ริงกิตมาเลเซีย (33.37 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,934.57 ริงกิตมาเลเซีย (32.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.34  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 991 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,080 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.24
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ    


คณะรัฐมนตรีประเทศอินเดียประกาศราคาอ้อยที่เป็นธรรมและให้ผลตอบแทน (FRP) ของอ้อยสำหรับ ปี 2565/2566 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,005 รูปีอินเดีย/ตัน (38.3 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งรัฐบาลคำนวณว่าสิ่งนี้แปลเป็นผลตอบแทน 88.3% จากต้นทุนการผลิต สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 50% โดยโรงงานน้ำตาลจ่ายเงินค่าอ้อย 91.42% แล้วในปี 2564/2565 ณ วันที่ 1 สิงหาคม มากกว่าในปีที่แล้ว
จากการเก็บเกี่ยวที่ดำเนินต่อไปและเพื่อชดเชยราคาน้ำมันที่ลดลง โรงงานน้ำตาลต่าง ๆ ในประเทศบราซิล ได้เริ่มลดราคาเอทานอล โดยคาดการณ์ว่าราคาเอทานอลจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดย Cepea/Esalq รายงานว่ายอดขายไฮดรัสของโรงงานน้ำตาลลดลง 16% ใน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 กรกฎาคม เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว โดยอธิบายต่อว่าทั้งโรงงานน้ำตาลและผู้จัดจำหน่าย ไม่แน่ใจว่าจะกำหนดราคาน้ำมันอย่างไรและทำให้มีการหยุดการขายชั่วคราว



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,590.20 เซนต์ (21.17 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,566.08 เซนต์ (21.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.90 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 478.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.23 เซนต์ (52.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 63.21 เซนต์ (51.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.78


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.01
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.98
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.69
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 921.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 905.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 696.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 656.67 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.11 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,315.40 ดอลลาร์สหรัฐ (47.10 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,208.67 ดอลลาร์สหรัฐ (44.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.83 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 3.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 739.33 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.45 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,281.40 ดอลลาร์สหรัฐ (45.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,258.33 ดอลลาร์สหรัฐ (45.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.03 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.73 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 100.66 เซนต์ (กิโลกรัมละ 80.41 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 100.51 เซนต์ (กิโลกรัมละ 81.28 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 (แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.87 บาท)
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,727 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,717 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,352 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,329 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 963 บาท   คิดเป็นร้อยละ 2.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  103.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.50  คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.40 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 108.46 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.81 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.21 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 49.41 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 333 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 331 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 321 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 328 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 336 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 340 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.77 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 345 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 353 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.25 บาท สูงขึ้นจากเฉลี่ยร้อยฟองละ 4.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.34 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.85 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.64 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 82.86 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.71 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 - 7 สิงหาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.95 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.90 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 80.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาทเนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.52 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 149.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.47 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 154.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.55 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 69.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 205.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.89 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา